เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้ดัดแปลงมาจากสุพรรณวดี ภิญโญ และคณะ (2554) โดยแบ่งเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามสาหรับผู้ป่วย และแบบสอบถามสาหรับญาติ แต่ละชุด ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การรับรู้การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ 3) ความคาดหวังผลลัพธ์ของการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยง โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) พบว่า การรับรู้ ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.87 ความคาดหวัง ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์เปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวัง ของผู้ป่วยและญาติ โดยการใช้ค่าสถิติการทดสอบค่า Independent T- Test
ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับรู้การบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วย อยู่ในระดับ ปานกลาง (X = 15.10 , S.D. = 5.32) ความคาดหวังผลลัพธ์ของการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วย อยู่ในระดับ มาก (X = 43.13 , S.D. = 4.84) การรับรู้การบริการการแพทย์ฉุกเฉินของญาติ อยู่ในระดับมาก (X = 17.00, S.D. =3.50) ความคาดหวังผลลัพธ์ของการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของญาติ อยู่ในระดับมาก (X = 41.83, S.D. =3.87) และ 3) ค่าเฉลี่ยของการรับรู้ของผู้ป่วยและญาติ ต่อระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p = 0.027) แต่ค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่อระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ของผู้ป่วยและญาติ ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p = 0.007)
ผลการวิจัยครั้งนี้ อาจนาไปพัฒนาการศึกษาความพึงพอใจในบริการ หลังจากได้มีการพัฒนาระบบ และ พัฒนาศักยภาพบุคลากร หรือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ ในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย
คาสาคัญ: การรับรู้ ความคาดหวัง ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
|